Last updated: 9 มี.ค. 2561 | 1219 จำนวนผู้เข้าชม |
นี่คืออีกคำถามหนึ่งที่ส่วนใหญ่แล้วพ่อแม่ผู้ปกครองของเรามักจะเป็นผู้ถามเสียมากกว่า ถ้าบอกทางบ้านว่าจะเรียนต่อทางด้านศิลปะ คำถามแรกที่แม่ถามก็คือ “แล้วแกจะไปทำอะไรกิน” แน่นอนว่าสมัยนั้นเราคงจะหาคำตอบดีๆให้กับทางบ้านไม่ได้แน่ เพราะวงการศิลปะบ้านเรายังแคบมากบริษัทโฆษณาก็ยังไม่มีมาก ศิลปินเศรษฐีอย่างอ.เฉลิมชัย อ.ถวัลย์ ก็ยังไม่ค่อยมีให้เห็นเป็นตัวอย่าง
แม้ปัจจุบันนี้เรามีคำตอบดี ๆ ให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้มากมายหลายคำตอบ ต่อไปนี้คือการงานอาชีพที่น้อง ๆ สามารถจะออกไปทำงานได้ เมื่อเรียนจบสายศิลปะ-ออกแบบ
1. เป็นศิลปินอิสระ ผลิตผลงานขาย เช่น ภาพเขียน ภาพประดับผนัง รูปปั้นต่างๆ ภาพพิมพ์ หรืองานศิลปะอื่น ๆ อันก็มีตัวอย่างของผู้ที่ประสบความสำเร็จให้เราได้เห็นกันแล้วว่า เป็นศิลปินไม่จำเป็นต้องไส้แห้ง เช่น ศิลปินเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ อาจารย์ประเทือง เอมเจริญ อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ฯลฯ และอีกมากมาย
2. เป็นช่างฝีมือ ผลิตของใช้ต่าง ๆ ออกขาย เช่น เครื่องหนัง ผ้าบาติก ตุ๊กตาที่ระลึก งานกระดาษ (เปเปอร์มาเช่) ของกระจุกกระจิกสวย ๆ งาม ๆ ที่เป็นหัตถกรรม
3. เป็นนักเขียนภาพประกอบตามนิตยสาร หนังสือต่าง ๆ เช่น อาจารย์เกริกบุระ ยมนาค นพดล ขาวสำอางค์
4. เป็นนักออกแบบตกแต่งภายใน อาคารบ้านเรือนและสำนักงานต่าง ๆ
5. เป็นนักออกแบบสิ่งแวดล้อม เช่น จัดสวน สนามหญ้า สื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในสาธารณะ
6. เป็นนักคิดโฆษณา (CREATIVE)
7. เป็นนักออกแบบโฆษณา
8. เป็นนักเขียนคำโฆษณา (COPPY WRITER)
9. เป็นครู อาจารย์สอนศิลปะ
10. เป็นนักเขียน (เช่น ชาติ กอบกิตติ วานิช จรุงกิจอนันต์)
11. เป็นนักวิจารณ์ศิลปะ วัฒนธรรม บันเทิงคดี
12. เป็นนักออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องเรือนต่าง ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ
13. เป็นนักออกแบบเซรามิค (เครื่องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา)
14. เป็นช่างภาพ นักถ่ายรูปประเภทข่าว ภาพแฟชั่น สารคดี หรือถ่ายภาพสร้างสรรค์
15. เป็นนักออกแบบจัดรูปเล่มหนังสือ ทำอาร์ตเวิร์ค ออกแบบหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
16. เป็นนักออกแบบแฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องประดับต่าง ๆ
17. เป็นนักออกแบบเครื่องหมายการค้า ดวงตราต่าง ๆ
18. เป็นนักออกแบบหีบห่อ เช่น ซองบุหรี่ กล่องใส่ขนม กระป๋อง ฉลากยา แชมพู และ ฯลฯ
19. เป็นนักเขียนการ์ตูน ภาพล้อ ภาพคนเหมือน
20. เป็นข้าราชการฝ่ายศิลปะ
อนันต์ ประภาโส//ข้อมูลอ้างอิง