Last updated: 23 ต.ค. 2560 | 1818 จำนวนผู้เข้าชม |
ซึ่งต้นแบบที่มาของชุดคือ "มหาลดาปสาธน์" มูลค่านับพันล้าน ที่ลูกศิษย์วัดพระธรรมกายสวมใส่ในงานทอดกฐิน
*มุมจะอ่านหรือไม่อ่านก็ได้ ที่มาของชุด 'มหาลดาปสาธน์" วัดพระธรรมกาย
หญิงที่ทำบุญถวายผ้าไตรจีวร เช่น ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เมื่ออานิสงส์ส่งเต็มที่ ย่อมได้เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ดังตัวอย่างของนางวิสาขามหาอุบาสิกาในครั้งพุทธกาล
เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ เป็นเครื่องประดับรูปนกยูง ที่มีนกยูงสถิตอยู่บนศีรษะ เหมือนยืนรำแพนและมีขนปีกทิ้งลงมาคลุมไปจนถึงหลังเท้า ประกอบด้วยเพชร 4 ทะนาน แก้วมุกดา 11 ทะนาน แก้วประพาฬ 20 ทะนาน แก้วมณี 33 ทะนาน ใช้เงินแทนด้าย ลูกดุมทำด้วยทอง มีมูลค่าถึง 90 ล้านกหาปณะ คิดเป็นมูลค่าเงินในปัจจุบันเทียบเท่าหลายพันล้านบาท โดยผู้ที่จะใช้เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ซึ่งมีน้ำหนักมากนี้ได้ นอกจากจะต้องมีทรัพย์มากแล้ว ยังต้องมีบุญด้วย เหมือนนางวิสาขาที่มีกำลังเท่ากับช้าง 5 เชือก
ด้วยเหตุนี้ทางวัดพระธรรมกายจึงได้สร้างเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์จำลอง เพื่อสาธิตให้ประชาชนได้เห็นอานิสงส์การถวายผ้าไตรจีวรในวันทอดกฐิน เป็นพุทธศิลป์ที่งดงาม โดยทางวัดพระธรรมกายจะกำหนดให้ญาติโยมที่มาวัดใส่ชุดสีขาวเหมือนๆกัน เพื่อความเรียบง่ายไม่ประดับประดาหรือแต่งมาอวดกัน เสมอภาคเหมือนกันทุกฐานะชนชั้นซึ่งทำมาตั้งแต่สร้างวัด ส่วนเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ไม่ใช่ชุดที่จะใส่มาวัด แต่สาธิตให้ญาติโยมได้เห็นเพื่อเป็นกำลังใจในการทำความดี และเมื่ออ่านเจอเรื่องราวของเครื่องประดับนี้ในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทจะได้นึกภาพออกโดยง่าย